วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559


มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี


มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ถนนยะรัง ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี เลขทะเบียนที่ 249 มีประวัติและความเป็นมาดังนี้
ในปีพุทธศักราช 2497 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนาอิสลามว่าเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวปัตตานีส่วนใหญ่นับถืออย่างเคร่งครัดอันจะนำมาซึ่งสันติสุข ประกอบกับในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) เป็นจำนวนมาก สมควรสร้างมัสยิดกลางที่มีขนาดใหญ่ และสวยงามขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแก่ชาวไทยผู้นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศตลอดจนเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ของชาวไทยมุสลิม จึงได้พิจารณาพื้นที่บริเวณริมถนนหลวงสายปัตตานี-ยะลา ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 55 ตารางวา คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติงบประมาณสำหรับการก่อสร้างมัสยิดกลางปัตตานีขึ้น โดย ฯพณฯ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นได้เดินทางมาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2500 เวลา 10.00 น.
                                                                  
                                                                เมืองโบราณยะรัง



เป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วงปี พ.ศ. ๗๐๐ - ๑๔๐๐ ทิศเหนือติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้แผ่ไปจนสุดแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่ง มีซากโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวราวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร "ลังกาสุกะ" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐไทรบุรี ของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มีความมั่นคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒

ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว




งานแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวจังหวัดปัตตานีมีทุกปีหลังตรุษจีนไป ๑๔ วัน เป็นงานที่ชาวจีนและชาวไทยทั่วประเทศ รวมทั้งชาวจีนในประเทศใกล้เคียงให้ความสนใจมาชมมากที่สุดของจังหวัดปัตตานี มาด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาต่อความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในงานดังกล่าวจะมีพิธีลุยน้ำข้ามแม่น้ำปัตตานี และมีพิธีลุยไฟที่ตื่นเต้นเร้าใจ
คนทั่วไปรู้ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาอย่างสั้นๆ และบางครั้งก็ไม่ค่อยตรงกันนัก ในฐานะที่เป็นคนในตระกูล "คณานุรักษ์" และได้รับการขอร้องจากญาติคือคุณสุวิทย์ คณานุรักษ์ ที่อยากให้คนทั่วไปได้รู้ประวัติของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ละเอียดถูกต้อง รวมทั้งผู้ที่สร้างศาลเจ้าเป็นครั้งแรกให้เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวประทับนั้นเป็นคนในต้นตระกูล คณานุรักษ์ นี่เอง
ขุนพจน์สารบาญ บุตรชายคนที่สองของคุณพระจีนคณานุรักษ์ เล่าให้คุณสุวิทย์ คณานุรักษ์ ผู้เป็นหลานปู่ฟังตามที่คุณพระจีนคณานุรักษ์บันทึกไว้เป็นภาษาจีนซึ่งได้สูญหายไปในชั้นลูก และคุณสุวิทย์ คณานุรักษ์ ได้เล่าให้ผู้เขียน (รศ. มัลลิกา คณานุรักษ์) ฟังอีกต่อหนึ่งเพื่อเผยแพร่ดังนี้
ประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนั้นกำเนิดในครอบครัวตระกูลลิ้ม ในสมัยพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์เหม็ง ราวๆ พ.ศ. ๒๐๖๕ - ๒๑๐๙ มีพี่น้องชายหญิงหลายคน มีพี่ชายคนหนึ่งชื่อ "ลิ้มโต๊ะเคี่ยม" ซึ่งรับราชการอยู่ที่อำเภอ มณฑลฮกเกี้ยน เมื่อบิดาลิ้มโต๊ะเคี่ยมถึงแก่กรรมจึงได้ย้ายมารับราชการที่เมื่องจั่วจิว ปล่อยให้ลิ้มกอเหนี่ยวและพี่น้องคนอื่นๆ เฝ้าดูแลมารด